หลักการทำงานของโอโซน
หลักการทำงานของโอโซน
โอโซน, Ozone หรือ O3 เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม พบปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ถือกำเนิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ เช่นจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงในอากาศ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ และแสงจากดวงอาทิตย์ ที่มีรังสีอัลตราไวเลตเปลี่ยนโครงสร้างของออกซิเจน
ตามปกติออกซิเจนจะประกอบกันในลักษณะ 2 อะตอม เป็น 1 โมเลกุล (O2) สามารถคงสภาพอยู่ได้หลายสภาวะ หรือกล่าวได้ว่ามีความเสถียร (Stable) นั่นเอง แต่ก๊าซโอโซน (O3 ) จะไม่คงตัวหรือไม่เสถียร (Unstable) เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความดัน และการสัมผัสกับสารที่มีพลังงานต่ำกว่าจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) อย่างรวดเร็ว กับสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ได้เกือบทุกชนิดทั้งในน้ำและในอากาศซึ่ง O3 มีปฏิกิริยาสูงถึง 2.07 Volt (Oxidation Potential) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่รุนแรงและเร็วกว่าคลอรีนถึง 3,125 เท่า แก๊สโอโซนจึงเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีมาก โดยโอโซนจะเข้าไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อน และทำการแยกย่อยสลายด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างของสารนั้น และในขณะเดียวกันก็เป็นสารที่ไม่อยู่ตัว มักจะสลายเป็นแก๊สออกซิเจนได้ง่าย และยิ่งถ้าเพิ่มอุณหภูมิและลดความดัน ปฏิกิริยาข้างต้นจะไปข้างหน้าได้เร็วมาก และหลังทำปฏิกิริยา โอโซนจะแปรสภาพกลับเป็นก๊าซออกซิเจนซึ่งไม่เป็นอันตราย หรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันก๊าซโอโซน(O3) ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่น
– ใช้เพื่อกำจัดการแพร่ของเชื้อโรค เชื้อไวรัส และ กำจัดเชื้อรา
– ใช้กำจัดเชื้อแบตทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ต่าง ๆ เช่น กลิ่นบุหรี่ , กลิ่นอาหาร , กลิ่นน้ำเสีย หรือ กลิ่นอับชื้น
– ใช้เพื่อกำจัดสารเคมี ยาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้
– ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำดื่ม เพื่อทำน้ำสเตอริไลซ์
– ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อขจัดโลหะหนัก และสารเคมีที่เป็นพิษในระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น